กระเบื้องยาง SPC คืออะไร?

กระเบื้องยาง SPC ราคา เท่าไหร่ ทำไมถึงนิยิมกันมากในท้องตลาดปัจจุบัน?

 

กระเบื้องยาง SPC ราคา    ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ราคากระเบื้อง SPC ในปัจุบัน วัสดุราคาเริ่มต้นที่ 350บาท-600บาท ความหนามีตั้งแต่ขนาด 4MM-6.5MM ซึ่งราคาของแต่ละรุ่นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆเช่น เกรดวัสดุ และวิธีการผลิต วันที่ผลิต(ของใหม่หรือเก่า) และอื่นๆ. พื้นภายในที่ผลิตจากวัสดุคอมโพสิททดแทนไม้จริงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ผนึกความทนทานเข้ากับสุนทรียะ โดย SPC ย่อมาจาก Stone Plastic Composite ประกอบขึ้นจากพลาสติกพีวีซี (Polyvinylchloride: PVC) และหินปูนที่รีดเป็นแผ่นบาง ก่อนจะนำมาเคลือบชั้นกันรอยขีดข่วน กันน้ำ และตกแต่งสวยงามในลวดลายเป็นธรรมชาติดุจไม้จริง.

ด้วยความบางเพียง 5.5/6.5 มิลลิเมตร ไม้พื้น SPC จึงมีลักษณะคล้ายกระเบื้องลายไม้ แต่โดดเด่นกว่าด้วยคุณสมบัติเนื้อเหนียว ยืดหยุ่นสูง รองรับน้ำหนักได้ดี และมีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ เมื่อสัมผัสหรือลงน้ำหนักจะรู้สึกสบายเท้าในทุกย่างก้าว รวมถึงกันน้ำและทนชื้นทำให้หมดห่วงเรื่องการพองตัวของไม้ ในวงการช่างจึงเรียกไม้พื้น SPC ว่ากระเบื้องยาง SPC ที่สื่อถึงคุณสมบัติเฉพาะได้ดียิ่งขึ้น.

บ้านสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่ที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และสุขภาพที่แข็งแรงของผู้ใหญ่อันเป็นที่รักของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ ห้องนอนหรือพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะกับเรื่องพื้นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้

เนื่องจากพื้น SPC เป็นพื้นที่ไม่ลื่นเท่ากับพื้นกระเบื้องที่มีค่า R ต่ำ (ค่า R: Slip Resistance คือ ค่าใช้วัดความลื่น ยิ่งมีค่าสูงก็จะกันความลื่นได้ดี) หรือพื้นไม้ขัดมัน จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นพื้นสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่นล้มได้เป็นอย่างดี รวมถึงการติดตั้งพื้นสามารถติดตั้งให้เรียบได้ระดับเท่ากัน เพื่อป้องกันอันตรายจากการสะดุดล้ม

กระเบื้องยาง ยี่ห้อไหนดี? ถึงแม้จะมีสีสันและลวดลายเหมือนกับไม้จริงจากธรรมชาติ แต่จุดเด่นที่สำคัญอย่างมากของพื้น SPC เลยก็คือ เป็นพื้นที่ป้องกันปลวกแมลงชนิดต่าง ๆ เนื่องจากไม่มีส่วนประกอบของไม้จริงจึงหมดกังวลเรื่องแมลงกวนใจ ไม่ต้องฉีดพ่นสารเคมีที่เป็นอันตราย และไม่ต้องทาน้ำยาเคลือบอีกด้วย

 

SPC ที่พัฒนาให้คุณภาพดียิ่งขึ้น โดยผสานข้อดีของวัสดุ PVC ยืดหยุ่นและทนทาน เข้ากับแคลเซียมคาร์บอเนตที่ให้ความแข็งแรง ลดการหดตัว และป้องกันปลวก 100% ได้เป็นวัสดุ “ SPC ” ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และปลอดภัยกว่ารุ่นก่อนหน้า เพื่อตอบโจทย์การใช้งาน สำหรับพื้นที่ภายในบ้านยุคใหม่ได้ครบครัน.

โครงสร้างแผ่นกระเบื้องยาง SPC

 

 

โครงสร้างกระเบื้องยาง SPC
SPC flooring spec and details
  1. UV Coating Layer ชั้นเคลือบป้องกันรังสี UV ช่วยป้องกันสีและลวดลายซีดจาง ทำให้กระเบื้องยาง SPC คงความสวยได้ยาวนาน
  2. Wear Layer ชั้นใสปกป้องผิว ความหนา 0.3-0.5 มม. ช่วยป้องกันรอยขีดข่วน คราบสกปรก และการสึกหรอจากการใช้งาน
  3. Film แผ่นฟิล์มพิมพ์ลายไม้และลายต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับสูง เพื่อให้ได้ลวดลายที่คมชัด ดูสมจริง
  4. SPC Core ชั้นแกนหลักความหนา 4-5มม. ผลิตจากส่วนผสมของ PVC และแคลเซียมคาร์บอเนต ทำให้แผ่นมีความแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทก ลดการยุบตัว กันน้ำ และกันปลวก
  5. Layer ช่วยป้องกันชั้น SPC Core จากความชื้นพื้นเดิม มีความเหนียวและทนทานสูง

    พื้น SPC สามารถใช้ได้กับห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือห้องครัว ในบ้านผู้สูงอายุ เพราะมีคุณสมบัติกันความชื้น และไม่ลามไฟ แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรติดตั้งพื้นในพื้นที่ที่สัมผัสกับน้ำโดยตรง เช่น ห้องน้ำโซนเปียกบรรยากาศอันเป็นมิตรภายในบ้านเป็นสิ่งที่ส่งผลดีต่อสุขภาพกาย และสุขภาพใจของผู้สูงอายุ การเลือกใช้พื้นลายไม้ในบ้านผู้สูงอายุจะช่วยสร้างบรรยากาศอบอุ่นภายในบ้าน ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลาย โดยพื้น SPC มีลายไม้ให้เลือกหลากหลายแบบเหมือนกับไม้ธรรมชาติ แต่ดูแลได้ง่ายกว่าไม่ยุ่งยากเท่าพื้นไม้จริงการใช้พื้น SPC ในบ้านผู้สูงอายุจะช่วยสร้างความปลอดภัยในบ้านให้กับผู้สูงอายุอันเป็นที่รักของทุกคนในครอบครัว อีกทั้งยังเป็นพื้นสำหรับผู้สูงอายุที่ดูแลรักษาง่าย สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ

    กระเบื้องยาง
    กระเบื้องยาง SPC


    กระเบื้องประกอบไปด้วยกระเบื้องแบบ SPC และ LVT ที่นิยมนำมาใช้ปูพื้นภายในบ้าน แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมกระเบื้องสองชนิดนี้ถึงเรียกไม่เหมือนกัน นั่นก็เพราะกระเบื้องทั้งสองแบบต่างกัน แต่แตกต่างกันอย่างไรบทความนี้มีคำตอบให้คุณ

    ความแตกต่างระหว่างกระเบื้อง SPC และ LVT

    1. ชื่อและโครงสร้างต่างกัน

    ชื่อเรียกของกระเบื้องแบบ SPC และ LVT ที่แตกต่างกันมาจากโครงสร้างและส่วนผสมของกระเบื้องที่ต่างกัน ดังนี้

    • SPC (Stone Plastic Composite) จะมีส่วนผสมของผงแร่ใยหิน และ PVC
    • LVT (Luxury Vinyl Tiles) จะมีส่วนผสมของไวนิล 100% (Pure PVC)

    2. LVT ยืดหยุ่นมากกว่า SPC

    LVT ยืดหยุ่นกว่า SPC เนื่องจากผงหินที่ถูกผสมเข้าไปในกระเบื้อง SPC จะไปช่วยลดการยืดหดของชั้นพลาสติกทำให้พื้นของ SPC มีความแข็ง หนา และไม่สามารถดัดหรืองอได้ ตรงกันข้ามกับกระเบื้อง LVT ที่เป็นยางไวนิลจึงมีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นมากกว่า ผิวสัมผัสเมื่อเดินบนพื้นกระเบื้องยาง LVT จึงรู้สึกนุ่มสบายเท้า แต่กระเบื้องแบบ SPC ก็สามารถแก้ไขให้การเดินบนพื้นรู้สึกสบายเท้าขึ้นได้โดยการใช้แผ่นโฟมปูรองพื้นก่อนติดตั้ง

    3. ระบบการติดตั้งแตกต่างกัน

    ระบบการติดตั้งกระเบื้องแบบแผ่นมี 3 แบบ ได้แก่ แบบทากาว แบบกาวในตัว และแบบคลิกล็อค ซึ่งกระเบื้องแบบ SPC หรือ LVT มีระบบการติดตั้งที่แตกต่างกัน ดังนี้

    • กระเบื้อง SPC มีระบบการติดตั้งแบบคลิกล็อคเท่านั้น หลายครั้งจึงถูกเข้าใจและเรียกว่า “กระเบื้องคลิกล็อค”
    • กระเบื้องยางไวนิล LVT มีการผลิตและออกแบบให้มีการติดตั้งได้ทั้ง 3 แบบ คือ ทากาว กาวในตัว และคลิกล็อค ที่นิยมใช้และนิยมขายกันจะเป็นระบบทากาวและระบบกาวในตัวมากกว่า ส่วนระบบคลิกล็อคของกระเบื้องยาง LVT ก็มีเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ถ้าหากจะใช้ระบบคลิกล็อคมักจะเลือกกระเบื้องแบบ SPC

      4. ความสามารถในการปูทับพื้นเดิมต่างกัน

      การใช้กระเบื้องปูทับพื้นเดิมจะใช้ระบบการติดตั้งแบบไหนก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือพื้นต้องเรียบอยู่ในระดับเดียวกัน แต่สำหรับคนที่ไม่สะดวกปรับพื้นใหม่และติดขัดในเรื่องงบประมาณ จึงปูกระเบื้องทั้งอย่างนั้นโดยไม่มีการปรับพื้นให้เสมอกันก่อน ซึ่งก็สามารถทำได้แต่พื้นที่ปูออกมาจะไม่ได้มาตรฐาน เช่น หากพื้นเดิมเป็นพื้นกระเบื้องที่มีร่องยาแนว กระเบื้อง SPC คลิกล็อคจะเหมาะกับการปูทับพื้นประเภทนี้กว่ากระเบื้องแบบทากาวหรือกาวในตัว เพราะความแข็งแรงของกระเบื้องแบบ SPC จะไม่ทำให้ปรากฏร่องยาแนวเหมือนกับ LVT ที่จะอ่อนตัวแนบไปกับพื้น เมื่อติดตั้งเสร็จพื้นจะเป็นร่องคลื่นชัดเจน แต่กระเบื้องแบบ SPC ก็อาจเกิดการยวบตัวและมีเสียงที่เกิดจากช่องว่างของพื้นที่ไม่เรียบเสมอกัน

      5. การทนทานต่อรอยขีดข่วนและแรงกดทับต่างกัน

      กระเบื้องยางแบบไวนิล LVT จะทนทานต่อรอยขีดข่วนได้น้อยกว่ากระเบื้องแบบ SPC เพราะมีชั้นโครงสร้างบางกว่า และกระเบื้องแบบ SPC มีความแข็งไม่ค่อยยืดหยุ่นจึงทนทานแรงกดทับได้น้อยกว่า เมื่อโดนแรงกระแทกอย่างแรงโดยตรง หรือการกดทับจากวัตถุที่มีน้ำหนักมากบริเวณตัวคลิกล็อคอาจแตกหัก

      6. อายุการใช้งานยาวนานต่างกัน

      แม้กระเบื้องจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาด้วยว่าคุณมีการดูแลรักษาดีมากน้อยแค่ไหน เพราะกระเบื้องแต่ละชนิดก็มีขอบเขตการใช้งานต่างกัน เช่น กระเบื้องยาง LVT หากใช้ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแปรปรวนก็จะทำให้พื้นกระเบื้องหดขยายตัว ส่วนกระเบื้อง SPC หากใช้ในงานพื้นที่มีการกดทับด้วยน้ำหนักที่มากจนเกินไปก็จะส่งผลต่อตัวคลิกล็อคอาจเสียหายได้ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสาเหตุให้อายุการใช้งานของกระเบื้องสั้นลงยิ่งกว่าเดิม

      กระเบื้อง SPC และ LVT แบบไหนดีกว่ากัน?

      SPC vs LVT

      ถ้าให้เลือกว่ากระเบื้องแบบไหนดีกว่ากันคงไม่สามารถตอบได้ เพราะกระเบื้องแต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน บางคนชอบที่ลวดลาย บางคนอาจชอบเพราะสวย หรือบางคนอาจชอบเพราะราคาถูก จะเห็นได้ว่าเทคนิคการเลือกกระเบื้องไม่ได้ตายตัว ซึ่งถ้าให้แนะนำ คุณควรเลือกกระเบื้องจากสภาพพื้นเดิมของห้อง ลักษณะการใช้งาน หรือความผันผวนของอุณหภูมิห้อง เพราะสิ่งเหล่านี้ต่างก็ส่งผลต่อพื้นกระเบื้อง การเลือกที่เหมาะสมจะทำให้พื้นกระเบื้องของคุณสามารถใช้ได้อย่างยาวนานและไม่เสียเงินจำนวนมากโดยไม่จำเป็นไปกับการแก้ไขปัญหาพื้นกระเบื้องที่จะตามมาทีหลัง

     

ข้อดีของการใช้ แผ่น SPC

  • ทนกว่าไม้จริงและกระเบื้องยางทั่วไป อายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี
  • วัสดุไม่มีส่วนผสมของไม้ ปลวกไม่สามารถกัดกินได้ ทนน้ำ ไม่บวมหรือเสียรูปทรง
  • เทคโนโลยีพิมพ์ลายคมชัด ให้ลวดลายไม้สมจริง รวมถึงลายหินอ่อนปูเข้าได้กับทุกสไตล์บ้าน
  • ใช้ระบบคลิ๊กล็อค ติดตั้งเร็ว ประหยัดเวลา และสามารถถอดเปลี่ยนได้หากชำรุด ทำความสะอาดง่ายโดยใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดทำความสะอาด
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม SPC Floor ไม่มีสารปนเปื้อนอันตราย ไม่มีสารก่อมะเร็ง ปลอดภัยทั้งคนและสัตว์ สามารถ Recycle ได้กระเบื้องยาง SPC มีข้อดีอย่างไร?
    1. มีความทนน้ำ ทนความชื้นได้ดี ไม่บวมน้ำเหมือนไม้จริง
    2. ติดตั้งง่าย ไม่ต้องใช้กาว ติดทับพื้นผิวเดิมได้ทันที
    3. มีอายุการใช้งานนาน กระเบื้องยางไม่ยวบ ไม่หด
    4. ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ เพราะไม่มีส่วนผสมของสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งเป็นสารที่มักจะพบเจอได้บ่อยในวัสดุการสร้างบ้าน
    5. ไม่มีส่วนประกอบของไม้จริง ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องปลวก
    6. มีคุณสมบัติกันไฟลามได้ดี ช่วยป้องกันการเกิดอัคคีภัยได้
    7. มีความทนทาน รับแรงกดทับ รับน้ำหนักได้มาก ทนต่อรอยขีดข่วน
    8. ดูแลรักษาง่าย ทำความสะอาดง่าย
    9. พื้นผิวสัมผัสมี texture เหมือนไม้จริง และไม่ลื่น

    คุณสมบัติและส่วนประกอบของพื้นกระเบื้องยาง SPC 5.5mm,6.5mm

    • แผ่นพื้นกระเบื้องยาง ผลิตจากไวนิลผสมหิน (Stone Plastic Composite) มีความแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทก และรับน้ำหนักได้ดี วัสดุขึ้นรูป SPC มีความบริสุทธิ์สูง ไม่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก ไม่เป็นอันตราย ไม่มีกลิ่นและไม่ติดไฟ
    • ตัวแผ่นความหนาพิเศษ รุ่นความหนา6.5mm(ตัวแผ่นspc5mm+โฟม 1.5mm) เพิ่มความหนาแน่นเวลาเท้าสัมผัส และรุ่นความหนา 5.5mm(ตัวแผ่นspc4mm+โฟม1.5mm)
    • ชั้นล่างสุดเป็นโฟม IXPE หนาแน่นสูง มีคุณสมบัติในการป้องกันความชื้น ลดแรงกระแทก และช่วยปรับระดับพื้นผิว ให้กระเบื้องไวนิลหลังติดตั้งมีความเรียบสม่ำเสมอ สามารถติดตั้งได้ทันทีโดยไม่ต้องรองโฟมปรับระดับเพิ่ม
    • ตัวแผ่นspcมีความคงทนสูง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ไม่ยืดขยายและหดตัว ป้องกันปลวกและความชื้น 100%
    • โครงสร้างตัวแผ่นออกแบบมาให้ติดตั้งได้ง่ายด้วยระบบคลิกล็อค ติดตั้งได้รวดเร็วด้วยการประสานของคลิกล็อครอบตัวแผ่น ติดตั้งโดยไม่ต้องติดกาว วางทับบนพื้นกระเบื้องเดิมหรือพื้นปูนซิเมนต์ขัดหยาบโดยไม่ต้องทำขัดมัน
    • ผิวหน้าพื้นกระเบื้องยางSPC มีลายไม้สวยงามด้วยชั้น Layer ออกแบบลายไม้ให้มีความหลากหลายเข้ากับทุกรูปแบบการใช้งาน
    • ชั้นป้องกันรอยขีดข่วน (Wear Layer) ความหนา 0.3mm
    • ผิวหน้าตัวแผ่นยางเคลือบด้วย UV Primer ช่วยป้องกันสีซีดจางจากรังสี UV และช่วยป้องกันสารเคมีและสิ่งสกปรก

การเลือกซื้อ แผ่น SPC

  • คุณภาพวัสดุ (Virgin Vinyl vs. Recycled) แนะนำเลือกวัสดุ Virgin  ที่ไม่มีส่วนผสมของเศษพลาสติก เพื่อความแข็งแรงทนทานสูงสุด สังเกตได้จากลิ้นของแผ่น ถ้าสีเรียบสม่ำเสมอแสดงว่าเป็น Virgin Grade 100%
  • ความหนาและขนาดแผ่นกระเบื้อง เลือกความหนารวม 4-5 มิลลิเมตร เพื่อความแข็งแรง ทนทาน โดยเฉพาะ Wear Layer ควรหนาอย่างน้อย 0.3 มม.
  • การรับประกันและมาตรฐานการผลิต เลือกแบรนด์ที่รับประกันสินค้า และผ่านมาตรฐาน ISO, Green Label กับ  FloorScore เพื่อความปลอดภัยในระหว่างใช้

 

Info


Comments

One response to “กระเบื้องยาง SPC คืออะไร?”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *