พื้น SPC ราคา เท่าไหร่ ทำไมถึงนิยิมกันมากในท้องตลาดปัจจุบัน?
พื้น SPC ราคา ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ราคากระเบื้อง SPC ในปัจุบัน วัสดุราคาเริ่มต้นที่ 350บาท-600บาท ความหนามีตั้งแต่ขนาด 4MM-6.5MM ซึ่งราคาของแต่ละรุ่นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆเช่น เกรดวัสดุ และวิธีการผลิต วันที่ผลิต(ของใหม่หรือเก่า) และอื่นๆ. พื้นภายในที่ผลิตจากวัสดุคอมโพสิททดแทนไม้จริงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ผนึกความทนทานเข้ากับสุนทรียะ โดย SPC ย่อมาจาก Stone Plastic Composite ประกอบขึ้นจากพลาสติกพีวีซี (Polyvinylchloride: PVC) และหินปูนที่รีดเป็นแผ่นบาง ก่อนจะนำมาเคลือบชั้นกันรอยขีดข่วน กันน้ำ และตกแต่งสวยงามในลวดลายเป็นธรรมชาติดุจไม้จริง.
ด้วยความบางเพียง 5.5/6.5 มิลลิเมตร ไม้พื้น SPC จึงมีลักษณะคล้ายกระเบื้องลายไม้ แต่โดดเด่นกว่าด้วยคุณสมบัติเนื้อเหนียว ยืดหยุ่นสูง รองรับน้ำหนักได้ดี และมีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ เมื่อสัมผัสหรือลงน้ำหนักจะรู้สึกสบายเท้าในทุกย่างก้าว รวมถึงกันน้ำและทนชื้นทำให้หมดห่วงเรื่องการพองตัวของไม้ ในวงการช่างจึงเรียกไม้พื้น SPC ว่ากระเบื้องยาง SPC ที่สื่อถึงคุณสมบัติเฉพาะได้ดียิ่งขึ้น.
บ้านสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่ที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และสุขภาพที่แข็งแรงของผู้ใหญ่อันเป็นที่รักของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ ห้องนอนหรือพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะกับเรื่องพื้นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้
เนื่องจากพื้น SPC เป็นพื้นที่ไม่ลื่นเท่ากับพื้นกระเบื้องที่มีค่า R ต่ำ (ค่า R: Slip Resistance คือ ค่าใช้วัดความลื่น ยิ่งมีค่าสูงก็จะกันความลื่นได้ดี) หรือพื้นไม้ขัดมัน จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นพื้นสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่นล้มได้เป็นอย่างดี รวมถึงการติดตั้งพื้นสามารถติดตั้งให้เรียบได้ระดับเท่ากัน เพื่อป้องกันอันตรายจากการสะดุดล้ม
กระเบื้องยาง ยี่ห้อไหนดี? ถึงแม้จะมีสีสันและลวดลายเหมือนกับไม้จริงจากธรรมชาติ แต่จุดเด่นที่สำคัญอย่างมากของพื้น SPC เลยก็คือ เป็นพื้นที่ป้องกันปลวกแมลงชนิดต่าง ๆ เนื่องจากไม่มีส่วนประกอบของไม้จริงจึงหมดกังวลเรื่องแมลงกวนใจ ไม่ต้องฉีดพ่นสารเคมีที่เป็นอันตราย และไม่ต้องทาน้ำยาเคลือบอีกด้วย
SPC ที่พัฒนาให้คุณภาพดียิ่งขึ้น โดยผสานข้อดีของวัสดุ PVC ยืดหยุ่นและทนทาน เข้ากับแคลเซียมคาร์บอเนตที่ให้ความแข็งแรง ลดการหดตัว และป้องกันปลวก 100% ได้เป็นวัสดุ “ SPC ” ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และปลอดภัยกว่ารุ่นก่อนหน้า เพื่อตอบโจทย์การใช้งาน สำหรับพื้นที่ภายในบ้านยุคใหม่ได้ครบครัน.
โครงสร้างแผ่นกระเบื้องยาง SPC
- UV Coating Layer ชั้นเคลือบป้องกันรังสี UV ช่วยป้องกันสีและลวดลายซีดจาง ทำให้กระเบื้องยาง SPC คงความสวยได้ยาวนาน
- Wear Layer ชั้นใสปกป้องผิว ความหนา 0.3-0.5 มม. ช่วยป้องกันรอยขีดข่วน คราบสกปรก และการสึกหรอจากการใช้งาน
- Film แผ่นฟิล์มพิมพ์ลายไม้และลายต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับสูง เพื่อให้ได้ลวดลายที่คมชัด ดูสมจริง
- SPC Core ชั้นแกนหลักความหนา 4-5มม. ผลิตจากส่วนผสมของ PVC และแคลเซียมคาร์บอเนต ทำให้แผ่นมีความแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทก ลดการยุบตัว กันน้ำ และกันปลวก
- Layer ช่วยป้องกันชั้น SPC Core จากความชื้นพื้นเดิม มีความเหนียวและทนทานสูง
พื้น SPC สามารถใช้ได้กับห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือห้องครัว ในบ้านผู้สูงอายุ เพราะมีคุณสมบัติกันความชื้น และไม่ลามไฟ แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรติดตั้งพื้นในพื้นที่ที่สัมผัสกับน้ำโดยตรง เช่น ห้องน้ำโซนเปียกบรรยากาศอันเป็นมิตรภายในบ้านเป็นสิ่งที่ส่งผลดีต่อสุขภาพกาย และสุขภาพใจของผู้สูงอายุ การเลือกใช้พื้นลายไม้ในบ้านผู้สูงอายุจะช่วยสร้างบรรยากาศอบอุ่นภายในบ้าน ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลาย โดยพื้น SPC มีลายไม้ให้เลือกหลากหลายแบบเหมือนกับไม้ธรรมชาติ แต่ดูแลได้ง่ายกว่าไม่ยุ่งยากเท่าพื้นไม้จริงการใช้พื้น SPC ในบ้านผู้สูงอายุจะช่วยสร้างความปลอดภัยในบ้านให้กับผู้สูงอายุอันเป็นที่รักของทุกคนในครอบครัว อีกทั้งยังเป็นพื้นสำหรับผู้สูงอายุที่ดูแลรักษาง่าย สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ
กระเบื้องประกอบไปด้วยกระเบื้องแบบ SPC และ LVT ที่นิยมนำมาใช้ปูพื้นภายในบ้าน แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมกระเบื้องสองชนิดนี้ถึงเรียกไม่เหมือนกัน นั่นก็เพราะกระเบื้องทั้งสองแบบต่างกัน แต่แตกต่างกันอย่างไรบทความนี้มีคำตอบให้คุณความแตกต่างระหว่างกระเบื้อง SPC และ LVT
1. ชื่อและโครงสร้างต่างกัน
ชื่อเรียกของกระเบื้องแบบ SPC และ LVT ที่แตกต่างกันมาจากโครงสร้างและส่วนผสมของกระเบื้องที่ต่างกัน ดังนี้
- SPC (Stone Plastic Composite) จะมีส่วนผสมของผงแร่ใยหิน และ PVC
- LVT (Luxury Vinyl Tiles) จะมีส่วนผสมของไวนิล 100% (Pure PVC)
2. LVT ยืดหยุ่นมากกว่า SPC
LVT ยืดหยุ่นกว่า SPC เนื่องจากผงหินที่ถูกผสมเข้าไปในกระเบื้อง SPC จะไปช่วยลดการยืดหดของชั้นพลาสติกทำให้พื้นของ SPC มีความแข็ง หนา และไม่สามารถดัดหรืองอได้ ตรงกันข้ามกับกระเบื้อง LVT ที่เป็นยางไวนิลจึงมีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นมากกว่า ผิวสัมผัสเมื่อเดินบนพื้นกระเบื้องยาง LVT จึงรู้สึกนุ่มสบายเท้า แต่กระเบื้องแบบ SPC ก็สามารถแก้ไขให้การเดินบนพื้นรู้สึกสบายเท้าขึ้นได้โดยการใช้แผ่นโฟมปูรองพื้นก่อนติดตั้ง
3. ระบบการติดตั้งแตกต่างกัน
ระบบการติดตั้งกระเบื้องแบบแผ่นมี 3 แบบ ได้แก่ แบบทากาว แบบกาวในตัว และแบบคลิกล็อค ซึ่งกระเบื้องแบบ SPC หรือ LVT มีระบบการติดตั้งที่แตกต่างกัน ดังนี้
- กระเบื้อง SPC มีระบบการติดตั้งแบบคลิกล็อคเท่านั้น หลายครั้งจึงถูกเข้าใจและเรียกว่า “กระเบื้องคลิกล็อค”
- กระเบื้องยางไวนิล LVT มีการผลิตและออกแบบให้มีการติดตั้งได้ทั้ง 3 แบบ คือ ทากาว กาวในตัว และคลิกล็อค ที่นิยมใช้และนิยมขายกันจะเป็นระบบทากาวและระบบกาวในตัวมากกว่า ส่วนระบบคลิกล็อคของกระเบื้องยาง LVT ก็มีเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ถ้าหากจะใช้ระบบคลิกล็อคมักจะเลือกกระเบื้องแบบ SPC
4. ความสามารถในการปูทับพื้นเดิมต่างกัน
การใช้กระเบื้องปูทับพื้นเดิมจะใช้ระบบการติดตั้งแบบไหนก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือพื้นต้องเรียบอยู่ในระดับเดียวกัน แต่สำหรับคนที่ไม่สะดวกปรับพื้นใหม่และติดขัดในเรื่องงบประมาณ จึงปูกระเบื้องทั้งอย่างนั้นโดยไม่มีการปรับพื้นให้เสมอกันก่อน ซึ่งก็สามารถทำได้แต่พื้นที่ปูออกมาจะไม่ได้มาตรฐาน เช่น หากพื้นเดิมเป็นพื้นกระเบื้องที่มีร่องยาแนว กระเบื้อง SPC คลิกล็อคจะเหมาะกับการปูทับพื้นประเภทนี้กว่ากระเบื้องแบบทากาวหรือกาวในตัว เพราะความแข็งแรงของกระเบื้องแบบ SPC จะไม่ทำให้ปรากฏร่องยาแนวเหมือนกับ LVT ที่จะอ่อนตัวแนบไปกับพื้น เมื่อติดตั้งเสร็จพื้นจะเป็นร่องคลื่นชัดเจน แต่กระเบื้องแบบ SPC ก็อาจเกิดการยวบตัวและมีเสียงที่เกิดจากช่องว่างของพื้นที่ไม่เรียบเสมอกัน
5. การทนทานต่อรอยขีดข่วนและแรงกดทับต่างกัน
กระเบื้องยางแบบไวนิล LVT จะทนทานต่อรอยขีดข่วนได้น้อยกว่ากระเบื้องแบบ SPC เพราะมีชั้นโครงสร้างบางกว่า และกระเบื้องแบบ SPC มีความแข็งไม่ค่อยยืดหยุ่นจึงทนทานแรงกดทับได้น้อยกว่า เมื่อโดนแรงกระแทกอย่างแรงโดยตรง หรือการกดทับจากวัตถุที่มีน้ำหนักมากบริเวณตัวคลิกล็อคอาจแตกหัก
6. อายุการใช้งานยาวนานต่างกัน
แม้กระเบื้องจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาด้วยว่าคุณมีการดูแลรักษาดีมากน้อยแค่ไหน เพราะกระเบื้องแต่ละชนิดก็มีขอบเขตการใช้งานต่างกัน เช่น กระเบื้องยาง LVT หากใช้ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแปรปรวนก็จะทำให้พื้นกระเบื้องหดขยายตัว ส่วนกระเบื้อง SPC หากใช้ในงานพื้นที่มีการกดทับด้วยน้ำหนักที่มากจนเกินไปก็จะส่งผลต่อตัวคลิกล็อคอาจเสียหายได้ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสาเหตุให้อายุการใช้งานของกระเบื้องสั้นลงยิ่งกว่าเดิม
กระเบื้อง SPC และ LVT แบบไหนดีกว่ากัน?
SPC vs LVT
ถ้าให้เลือกว่ากระเบื้องแบบไหนดีกว่ากันคงไม่สามารถตอบได้ เพราะกระเบื้องแต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน บางคนชอบที่ลวดลาย บางคนอาจชอบเพราะสวย หรือบางคนอาจชอบเพราะราคาถูก จะเห็นได้ว่าเทคนิคการเลือกกระเบื้องไม่ได้ตายตัว ซึ่งถ้าให้แนะนำ คุณควรเลือกกระเบื้องจากสภาพพื้นเดิมของห้อง ลักษณะการใช้งาน หรือความผันผวนของอุณหภูมิห้อง เพราะสิ่งเหล่านี้ต่างก็ส่งผลต่อพื้นกระเบื้อง การเลือกที่เหมาะสมจะทำให้พื้นกระเบื้องของคุณสามารถใช้ได้อย่างยาวนานและไม่เสียเงินจำนวนมากโดยไม่จำเป็นไปกับการแก้ไขปัญหาพื้นกระเบื้องที่จะตามมาทีหลัง
ข้อดีของการใช้ แผ่น SPC
- ทนกว่าไม้จริงและกระเบื้องยางทั่วไป อายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี
- วัสดุไม่มีส่วนผสมของไม้ ปลวกไม่สามารถกัดกินได้ ทนน้ำ ไม่บวมหรือเสียรูปทรง
- เทคโนโลยีพิมพ์ลายคมชัด ให้ลวดลายไม้สมจริง รวมถึงลายหินอ่อนปูเข้าได้กับทุกสไตล์บ้าน
- ใช้ระบบคลิ๊กล็อค ติดตั้งเร็ว ประหยัดเวลา และสามารถถอดเปลี่ยนได้หากชำรุด ทำความสะอาดง่ายโดยใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดทำความสะอาด
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม SPC Floor ไม่มีสารปนเปื้อนอันตราย ไม่มีสารก่อมะเร็ง ปลอดภัยทั้งคนและสัตว์ สามารถ Recycle ได้กระเบื้องยาง SPC มีข้อดีอย่างไร?
- มีความทนน้ำ ทนความชื้นได้ดี ไม่บวมน้ำเหมือนไม้จริง
- ติดตั้งง่าย ไม่ต้องใช้กาว ติดทับพื้นผิวเดิมได้ทันที
- มีอายุการใช้งานนาน กระเบื้องยางไม่ยวบ ไม่หด
- ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ เพราะไม่มีส่วนผสมของสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งเป็นสารที่มักจะพบเจอได้บ่อยในวัสดุการสร้างบ้าน
- ไม่มีส่วนประกอบของไม้จริง ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องปลวก
- มีคุณสมบัติกันไฟลามได้ดี ช่วยป้องกันการเกิดอัคคีภัยได้
- มีความทนทาน รับแรงกดทับ รับน้ำหนักได้มาก ทนต่อรอยขีดข่วน
- ดูแลรักษาง่าย ทำความสะอาดง่าย
- พื้นผิวสัมผัสมี texture เหมือนไม้จริง และไม่ลื่น
คุณสมบัติและส่วนประกอบของพื้นกระเบื้องยาง SPC 5.5mm,6.5mm
- แผ่นพื้นกระเบื้องยาง ผลิตจากไวนิลผสมหิน (Stone Plastic Composite) มีความแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทก และรับน้ำหนักได้ดี วัสดุขึ้นรูป SPC มีความบริสุทธิ์สูง ไม่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก ไม่เป็นอันตราย ไม่มีกลิ่นและไม่ติดไฟ
- ตัวแผ่นความหนาพิเศษ รุ่นความหนา6.5mm(ตัวแผ่นspc5mm+โฟม 1.5mm) เพิ่มความหนาแน่นเวลาเท้าสัมผัส และรุ่นความหนา 5.5mm(ตัวแผ่นspc4mm+โฟม1.5mm)
- ชั้นล่างสุดเป็นโฟม IXPE หนาแน่นสูง มีคุณสมบัติในการป้องกันความชื้น ลดแรงกระแทก และช่วยปรับระดับพื้นผิว ให้กระเบื้องไวนิลหลังติดตั้งมีความเรียบสม่ำเสมอ สามารถติดตั้งได้ทันทีโดยไม่ต้องรองโฟมปรับระดับเพิ่ม
- ตัวแผ่นspcมีความคงทนสูง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ไม่ยืดขยายและหดตัว ป้องกันปลวกและความชื้น 100%
- โครงสร้างตัวแผ่นออกแบบมาให้ติดตั้งได้ง่ายด้วยระบบคลิกล็อค ติดตั้งได้รวดเร็วด้วยการประสานของคลิกล็อครอบตัวแผ่น ติดตั้งโดยไม่ต้องติดกาว วางทับบนพื้นกระเบื้องเดิมหรือพื้นปูนซิเมนต์ขัดหยาบโดยไม่ต้องทำขัดมัน
- ผิวหน้าพื้นกระเบื้องยางSPC มีลายไม้สวยงามด้วยชั้น Layer ออกแบบลายไม้ให้มีความหลากหลายเข้ากับทุกรูปแบบการใช้งาน
- ชั้นป้องกันรอยขีดข่วน (Wear Layer) ความหนา 0.3mm
- ผิวหน้าตัวแผ่นยางเคลือบด้วย UV Primer ช่วยป้องกันสีซีดจางจากรังสี UV และช่วยป้องกันสารเคมีและสิ่งสกปรก
การเลือกซื้อ แผ่น SPC
- คุณภาพวัสดุ (Virgin Vinyl vs. Recycled) แนะนำเลือกวัสดุ Virgin ที่ไม่มีส่วนผสมของเศษพลาสติก เพื่อความแข็งแรงทนทานสูงสุด สังเกตได้จากลิ้นของแผ่น ถ้าสีเรียบสม่ำเสมอแสดงว่าเป็น Virgin Grade 100%
- ความหนาและขนาดแผ่นกระเบื้อง เลือกความหนารวม 4-5 มิลลิเมตร เพื่อความแข็งแรง ทนทาน โดยเฉพาะ Wear Layer ควรหนาอย่างน้อย 0.3 มม.
- การรับประกันและมาตรฐานการผลิต เลือกแบรนด์ที่รับประกันสินค้า และผ่านมาตรฐาน ISO, Green Label กับ FloorScore เพื่อความปลอดภัยในระหว่างใช้
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.